สมาคมการค้าอาเซียน-จีน จัดเสวนาธุรกิจนักลงทุน ‘ไทย-สิงคโปร์’
สมาคมการค้าอาเซียน-จีน ผนึกเครือข่ายธุรกิจนักลงทุน “ไทย-สิงคโปร์” ร่วมกับสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าเศรษฐกิจดิจิทัล จัดเสวนาธุรกิจพบปะนักลงทุนในรายการ Singapore-Thailand Enterprises Biz-Matching Forum 2024” เพื่อสนับสนุนการต่อยอดทางธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศ ดีเดย์ 21-22 พย. นี้ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ
ดร.ดาวิน หยาง นายกสมาคมการค้าอาเซียน-จีน เปิดเผย www.ucdnews.com ว่าในวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 นี้สมาคมฯ ได้พาเครือข่ายนักลงทุนจากสิงคโปร์มาพบกับนักลงทุนไทยเพื่อให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนทางธุรกิจต่อกันรูปแบบ Business Maching โดยกำหนดจัดงานขึ้นที่ห้องปรินซ์บอลลูม 3 โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ ชั้น 11 ซึ่งในโอกาสพิเศษนี้นักลงทุนของทั้ง 2 ประเทศยังจะได้เข้าร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของสมาคมการค้าอาเซียน-จีนอีกด้วย
โดยในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ช่วงเช้าสมาคมฯจะพานักลงทุนไปชมฟาร์มจระเข้ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจกับผู้บริหารของฟาร์มจระเข้แห่งนี้ หลังจากนั้นช่วงบ่ายจะเป็นการสัมมนาในรายการ Singapore-Thailand Enterprises Biz-Matching Forum 2024 ซึ่งเป็นการร่วมกันของ 3 องค์กร ประกอบด้วย 1.สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (Employers’ Confederation of Thailand(ECOT)) 2.สมาคมการค้าอาเซียน-จีน (ASEAN-China Commerce Association (ACCA)) และ 3. สมาคมการค้าเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economic Trade Association(DETA)
โดยไฮไลต์ช่วงบ่ายวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 น. เริ่มลงทะเบียน จากนั้นเวลา 14.30-15.30 น. เป็นการกล่าวต้อนรับของนายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย จากนั้นจะได้พบกับนายดา หว่อง อุปนายกสมาคมการค้าอาเซียน-จีน (Executive Vice President of ASEAN-China Commerce Association) ที่จะมากล่าวถึงมุมมองการลงทุนในประเทศไทย (Investment and business opportunities in Thailand) ต่อเนื่องอีกหนึ่งไฮไลต์การจัดงานที่จะได้ฟังสาระดีดีของนักลงทุนสิงคโปร์ในหัวข้อ What Singapore SMEs Need by 2-3 Singapore SME representatives โดย Miss Anya (Director of White Unicorn Company Limited and Secretary to the President of the Digital Economy Trade Association) และช่วงท้ายงานยังได้รับฟังสาระน่ารู้ของThe objectives of the Digital Economy Trade Association and the opportunities for digital trade in Thailand โดย Mr.Narinrit (Vice President of Digital Economy Trade Association) ก่อนที่ช่วงเย็นจะเป็นการร่วมงานเลี้ยงเพื่อการพบปะนักลงทุนของทั้ง 2 ประเทศครั้งนี้
สำหรับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ภาคเช้าเป็นต้นไปยังจัดให้มีการพบปะนักลงทุนของทั้ง 2 ประเทศต่อเนื่องจากช่วงบ่ายของวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมาเพื่อก่อให้เกิดการร่วมหารือในรายละเอียดเชิงลึกกันมากขึ้น ก่อนที่ในช่วงค่ำจะนำเข้าสู่งานเลี้ยงแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของสมาคมการค้าอาเซ๊ยน-จีน โดยได้รับเกียรติจากนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) และในฐานะอดีตรองนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานเปิดงานและร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 5 ของสมาคมการค้าอาเซียน-จีนในครั้งนี้ด้วย
“อาจเกิดการร่วมลงทุนผลิตแล้วนำไปขายที่อื่น หรือเกิดการซื้อ-ต่อกันได้เลย จึงจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยให้นักลงทุนของทั้ง 2 ประเทศได้พบปะกันอย่างเต็มที่ ได้พรีเซ้นต์หรือแนะนำธุรกิจของแต่ละรายให้นักลงทุนเกิดความสนใจพร้อมเปิดโอกาสให้คุยในรายละเอียดทางธุรกิจได้ทั้ง 2 วัน มั่นใจว่าจะเกิดการต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างแน่นอน จึงพร้อมเปิดกว้างรับผู้ที่สนใจนำธุรกิจเข้ามาแลกเปลี่ยนซึ้งกันและกันในครั้งนี้”
ไทยปัง 9 เดือนแรกปี 67 ต่างชาติลงทุน มูลค่ากว่า 1.3 แสนล้านบาท ญี่ปุ่นอันดับ 1
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เผยว่า ปี 2567 ช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 636 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 143 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) จำนวน 493 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 134,805 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานคนไทยจากนักลงทุนที่ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 2,505 คน
ประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 5 อันดับ
โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ญี่ปุ่น จำนวน 157 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 74,091 ล้านบาท 2. สิงคโปร์ จำนวน 96 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 12,222 ล้านบาท 3. จีน จำนวน 89 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 11,981 ล้านบาท 4. สหรัฐอเมริกา จำนวน 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 4,147 ล้านบาท 5. ฮ่องกง จำนวน 46 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 14,116 ล้านบาท
เปรียบเทียบการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ปี 2566 กับ ปี 2567
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 143 ราย คิดเป็นร้อยละ 29 • (ม.ค.-ก.ย. 67) อนุญาต จำนวน 636 ราย (ม.ค.-ก.ย. 66) อนุญาต จำนวน 493 ราย และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 50,792 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60 • (ม.ค.-ก.ย. 67) ลงทุน จำนวน 134,805 ล้านบาท (ม.ค.-ก.ย. 66) ลงทุน จำนวน 84,013 ล้านบาท ในขณะที่มีการจ้างงานคนไทยจากนักลงทุนที่ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวลดลง 3,198 ราย คิดเป็นร้อยละ 56 • (ม.ค.-ก.ย. 67) จ้างงาน จำนวน 2,505 คน (ม.ค.-ก.ย. 66) จ้างงาน จำนวน 5,703 คน โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปีก่อน สำหรับปี 2567 นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC เป็นส่วนใหญ่