บพท. ผนึกเวิลดิ์แบงค์ ปลดล็อกศักยภาพการพัฒนาเมือง

บพท. ร่วมกับเวิลด์แบงค์ เร่งปลดล็อกศักยภาพเมืองรอง หนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนและพัฒนาอย่างรอบด้าน สนองแนวคิดและนโยบายด้านการพัฒนาเมือง

การเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในเมืองรอง มีความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนสถานะของประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง

ปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายของเมืองที่เจริญรุ่งเรือง นอกเหนือจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่พร้อมจะรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเมือง เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ สร้างงาน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในเมืองรองให้ดียิ่งขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน

ที่ผ่านมา เมืองในประเทศไทยมักจะเผชิญกับแรงกดดันด้านการเงิน ในการต้องดำเนินการภายใต้กรอบสถาบันและการคลังที่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาตามมานั่นคือโครงสร้างพื้นฐานที่ค้างอยู่ ดังนั้นการพึ่งพาเงินทุนจำนวนมากจากรัฐบาลถือเป็นความท้าทายของเมืองต่างๆ เหตุนี้หน่วยงานภาครัฐและเมืองต่างๆ แสวงหาโซลูชันทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในเมือง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

นายฟาบริซิโอ ซาร์โกเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ความพยายามที่จะลดช่องว่างที่เหลือจากการพึ่งพางบประมาณสาธารณะเพียงอย่างเดียว เมืองต่างๆ กำลังศึกษาแนวทางในการระดมเงินทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง โดยเมืองใหญ่เหล่านี้มีเป้าหมายที่จะปลดล็อกศักยภาพของพวกเขาสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืน และกำลังร่วมมือกับธนาคารโลกเพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ของเมืองชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก ในการสร้างความน่าเชื่อถือของเมืองให้ดีขึ้น”

“สำหรับประเทศไทย การกระจายเชิงพื้นที่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมการเติบโต ลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ระดับรายได้สูง ไม่มีประเทศใดเติบโตจนมั่งคั่งได้โดยไม่เปลี่ยนการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของผู้คนและการผลิต”

ขอนแก่น : เมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย

ขอนแก่นตั้งอยู่ใจกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดเมืองหนึ่ง เมืองที่พลุกพล่านแห่งนี้เป็นจุดเชื่อมโยงทางการค้าและการส่งออกสำหรับภูมิภาคอินโดจีน เช่นเดียวกับหลายๆ เมือง

ขอนแก่นกำลังต่อสู้กับกรอบสถาบันและการคลังที่จำกัด เนื่องจากต้องรับมือกับความท้าทายในการพัฒนาเมือง และมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยแผนการพัฒนา ”เมืองอัจฉริยะ” มีเป้าหมายเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบใหม่

“เมื่อคนนึกถึงขอนแก่น พวกเขาคิดว่าเรากำลังทำโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) เท่านั้น ที่จริงแล้วเราทำมากกว่านั้น คือการวางโครงสร้างเมืองทั้งหมด เพื่อให้ขอนแก่นเป็นเมือง SMART หมายความว่าเรามีแผนกลยุทธ์ 20 ปี มีโครงการทั้งสิ้น 136 โครงการ และโครงการ LRT เป็นหนึ่งในนั้น” นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย CEO ของ Khon Kaen City Development (KKTT) หรือบริษัท ขอนแก่น พัฒนาเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มของนักธุรกิจท้องถิ่นเป็นหัวหอกในการพัฒนาเมือง เกริ่นในรายละเอียดนำร่อง

“เป็นเรื่องยากมากที่จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ในการพัฒนาโครงการที่จะมีผลกระทบต่อเมือง KKTT จึงต้องเข้ามาช่วยเมืองในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับที่ใหญ่ขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจในภาคเมืองไปข้างหน้า” นายสุรเดช กล่าว พร้อมชี้ว่า งบประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาทที่จัดสรรเพื่อพัฒนาเมือง ส่วนใหญ่ไปลงที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่จริงแล้วการกระจายเหล่านี้ควรจัดสรรอย่างเท่าเทียม เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองรองซึ่งอาจส่งผลต่อจีดีพีโดยรวมของประเทศ และยังส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลและทั่วถึงมากขึ้นทั่วประเทศ ความหวังสูงสุดของเขาคือ การผลักดันให้เมืองอื่นๆในประเทศเป็นผู้ควบคุมชะตากรรมของพวกเขาและเปลี่ยนเมืองของพวกเขาให้กลายเป็นสถานที่ที่มีความยั่งยืนมากขึ้นสำหรับผู้คนในการใช้ชีวิต และเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมในการดึงดูดเม็ดเงินการลงทุน

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์

นครสวรรค์ : ประตูสู่ภาคเหนือ

“นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์” ประธานสภาเทศบาลนครสวรรค์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในเมือง รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการเติบโตในภูมิภาค ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกว่า “การพัฒนาเมืองในเมือง เพิ่งเริ่มในปี 2562 และก่อนนี้เน้นเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อกระทรวงมหาดไทยให้อำนาจแก่ผู้บริหารท้องถิ่นในการจัดทำผังเมือง ก็เกิดการเปลี่ยนเขตเมืองทันที พร้อมรีเซ็ตความสูงของอาคารรวมถึงขนาดของพื้นที่เมือง การดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มเซ็นทรัลมาลงทุนกว่า 5-6 พันล้านบาทภายในปีเดียว และโรงพยาบาลสินแพทย์ลงทุนกว่า 2 พันล้านบาท สร้างศักยภาพให้เมืองพัฒนาได้โดยไม่ถูกจำกัดด้วยผังเมืองเก่า”

“การวางผังเมืองที่ดีนั้นมีความสำคัญ ไม่เพียงแต่สร้างรายได้เท่านั้น ยังรวมถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนภายในเมืองด้วย ผมอยากเห็นศูนย์กลางเมืองต่างๆ ริเริ่มการจัดทำแผนที่และออกแบบผังเมืองของตนเอง โดยยึดแนวทางการพัฒนาของตนเป็นของตนเอง”

 

ระยอง : ศูนย์กลางระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ระยอง จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องชายฝั่งที่มีแสงแดดส่องถึง แต่ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ที่สามารถกระตุ้นการเติบโตของประเทศไทย ในขณะที่จังหวัดมีโครงการโรงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น สนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นศูนย์กลางปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย หนึ่งในเป้าหมายหลักของเมืองคือการสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ- ระยอง ระยะทาง 193 กิโลเมตร

“นายภูษิต ไชยฉ่ำ” รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองระยอง กล่าวว่า การลงทุนในอนาคต สิ่งหนึ่งที่เมืองนี้ดึงดูดได้คืออุตสาหกรรมรถยนต์ ดังนั้นการนำเสนอจังหวัดระยองระดับสากลในอนาคต ควรเน้นไปที่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่จะพัฒนาในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยจะเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกที่สนใจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้มาลงทุนที่ระยอง

อย่างไรก็ตาม “นายภูษิต” ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยระบุว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเมืองรอง เพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและขยายโอกาสไปสู่ผู้คนจำนวนมากขึ้น เราเชื่อว่าทุกอย่างไม่ควร ”รวมศูนย์” ประสบการณ์และหลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศในกลุ่ม OECD เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมอำนาจให้กับเมืองและรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายโอกาสที่จำเป็นต่อการเติบโต การลดความยากจน และการแบ่งปันความมั่งคั่ง

เมืองที่ไฮไลต์ข้างต้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเปลี่ยนแปลงของการบริหารท้องถิ่น ที่เป็นผู้นำในการจัดการกับความท้าทายในท้องถิ่น เพื่อปูทางสู่อนาคตของเมืองที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น เมืองเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอยู่ใกล้แค่เอื้อม ด้วยพลังแห่งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

นายภูษิต ไชยฉ่ำ