MEA โชว์ความสำเร็จ พลิกโฉม กทม.สู่มหานครอัจฉริยะ
MEA โชว์ผลงานพลิกโฉมเมืองมหานคร เปลี่ยนสายไฟฟ้าลงใต้ดิน แล้วเสร็จกว่า 48 กม. ทั่วพื้นที่สำคัญในกทม. พร้อมสร้างอุโมงค์ยักษ์สายส่งไฟฟ้า สร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง
การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยความคืบหน้าโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จระยะทางรวม 48.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของถนนสายสำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร อาทิ ถนนสีลม, ถนนสุขุมวิท, ถนนพหลโยธิน, ถนนพญาไท, ถนนพระราม 1, ถนนพระราม 4, ถนนราชดำริ, ถนนราชวิถี, ถนนราชปรารภ, ถนนศรีอยุธยา, ถนนสวรรคโลก, ถนนสาธุประดิษฐ์และสว่างอารมณ์, ถนนพิษณุโลก , ถนนนครสวรรค์
โครงการฯ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะทางรวม 128.2 กิโลเมตร ได้แก่
นนทรี ถนนพระราม 3 รัชดาภิเษก-พระราม 9 รัชดาภิเษก-อโศก รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ถนนพระราม 4 ถนนวิทยุ พื้นที่เมืองชั้นใน (ถนนสาทร ถนนเจริญราษฎร์ ถนนชิดลม ถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง) ถนนอังรีดูนังต์ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อน สายสีชมพู และสายสีเหลือง
2.โครงการที่อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ระยะทางรวม 38.8 กิโลเมตร ได้แก่
ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีเขียวส่วนต่อขยาย และสายสีม่วง โครงการร่วมกรุงเทพมหานคร (ถนนอรุณอัมรินทร์-ถนนบรมราชชนนี-ถนนพรานนก-ถนนทหาร-ถนนประชาราษฎร์สาย 1 และถนนสามเสน) ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างภายในปี 2563
สำหรับโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน เป็นโครงการที่ MEA ร่วมขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่การเป็นมหานครอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) และมหานครแห่งอาเซียน ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อความเพียงพอ มั่นคง เสถียรภาพ ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และช่วยปรับทัศนียภาพให้สวยงาม มีความปลอดภัย
พื้นที่ดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่สำคัญ ของกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ โดย MEA มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเส้นทางที่มีความจำเป็น ดังนี้ ตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า, สาธารณูปโภคสำคัญ, แนวถนนสายหลัก, บริเวณย่านธุรกิจและสถานที่สำคัญ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าหนาแน่น และมีการเติบโตของความต้องการไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
นอกจากพื้นที่ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ โครงการฯ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะทางรวม 128.2 กิโลเมตร ได้แก่ นนทรี ถนนพระราม 3 รัชดาภิเษก-พระราม 9 รัชดาภิเษก-อโศก รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ถนนพระราม 4 ถนนวิทยุ พื้นที่เมืองชั้นใน (ถนนสาทร ถนนเจริญราษฎร์ ถนนชิดลม ถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง) ถนนอังรีดูนังต์ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อน สายสีชมพู และสายสีเหลือง
2.โครงการที่อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ระยะทางรวม 38.8 กิโลเมตร ได้แก่
ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีเขียวส่วนต่อขยาย และสายสีม่วง โครงการร่วมกรุงเทพมหานคร (ถนนอรุณอัมรินทร์-ถนนบรมราชชนนี-ถนนพรานนก-ถนนทหาร-ถนนประชาราษฎร์สาย 1 และถนนสามเสน) ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างภายในปี 2563
ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน MEA มีหน่วยงานพันธมิตรร่วมลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน พร้อมรับฟังปัญหาและนำไปแก้ไข รวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สนับสนุนด้านการอำนวยความสะดวกในบริเวณพื้นที่ทางเท้าสำหรับดำเนินโครงการ ฯ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สนับสนุนการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมแก้ไขปัญหาสายสื่อสาร นอกจากนี้ยังร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินโครงการ เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CHULA Smart City)
โครงการฯ ดังกล่าว MEA ได้รับการอนุมัติจากมติ ครม. เกี่ยวกับโครงการฯ ในการลงทุนรวมกว่า 69,232.6 ล้านบาท โดยดำเนินโครงการฯ ครั้งแรกบนถนนสีลม ตั้งแต่ปี 2527 นับเป็นถนนสายแรกของประเทศไทย และได้ดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมระยะทาง 215.6 กิโลเมตร
พร้อมกันนี้ MEA ยังดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่ Outgoing เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าใจกลางเมืองซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ถนนชิดลม ถึง ถนนสารสิน (ตลอดแนวถนน) ถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลม ถึงสี่แยกเพลินจิต) โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ยักษ์ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร อยู่ลึกประมาณ 40 เมตร มีความยาวของอุโมงค์โดยประมาณ 1,800 เมตรถือเป็นอุโมงค์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง ลดปัญหาไฟฟ้าดับ สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามให้กับเมืองมหานครของประเทศไทย